วัฒนธรรมการดื่มกาแฟในไทย
ก่อนที่ความนิยมของการดื่มกาแฟสดจะแพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่เมืองท่องเที่ยวต่างๆนั้น คนไทยรู้จักกาแฟในลักษณะของกาแฟโบราณ ที่ใช้ถุงผ้าในการชง รสชาติเข้ม จึงเติมนมข้นหวานน้ำตาลลงไป ได้กาแฟรสชาติเข้ม หวาน มัน และยังแยกชนิดย่อยๆ ลงไปทั้งกาแฟด้าที่ไม่เติมอะไรเลย โอเลี้ยง โอยัวะ ยกล้อ ฯลฯ ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างไปตามเทคนิคการเติมนมข้มหวานหรือน้้าตาล
ในอดีตทางภาคเหนือนั้น กาแฟอาจจะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับการเคี้ยวเหมี้ยงหรือดื่มน้้าชา ดังปรากฏว่าชาวไทใหญ่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีวงเสวนาน้้าเน้งหรือน้้าเหมี้ยงหรือน้้าชา เพื่อใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์ พูดคุยกันในชุมชน ไม่ต่างอะไรกับโกปี้หรือสภากาแฟในภาคใต้ ดังเช่นสภากาแฟของจังหวัดตรัง ที่มีเอกลักษณ์ในการดื่มกาแฟแกล้มกับหมูย่าง เหตุที่กาแฟเป็นที่นิยมของคนใต้จนกระทั่งมีสภากาแฟเพื่อใช้เป็นที่สังสรรค์ พูดคุย พบปะกันในชุมชนดื่มกันได้ทุกเวลานั้น น่าจะเป็นเพราะภาคใต้เป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งน้าเข้ามาปลูกยาวนานกว่าร้อยปี
โดยเริ่มต้นปลูกที่จังหวัดสงขลา ในขณะที่กาแฟอราบิก้านั้น เพิ่งเริ่มนำมาปลูกในภาคเหนือเมื่อประมาณยี่สิบปีที่ผ่านมานี่เอง วัฒนธรรมการดื่มกาแฟของคนไทย เรามักจะคุ้นเคยกับการชงกาแฟด้วยถุงผ้า โดยตักผงกาแฟที่เรียกกันว่ากาแฟโบราณ ซึ่งมักจะผสมกับธัญพืชลงไปในถุงผ้า แล้วใช้กระบวยตักน้้าร้อนให้ลอดผ่านถุงผ้า ก็จะได้น้ำกาแฟเข้มข้น จากนั้นจึงผสมกับน้้าตาล นมข้นหวาน รสชาติของกาแฟที่คนไทยคุ้นเคยจึงมักจะหวานมัน แตกต่างไปจากกาแฟที่ดื่มกันในประเทศตะวันตก ซึ่งความเคยชินของคนไทยเช่นนี้ ก็ส่งผลต่อการผลิตเมนูกาแฟที่แตกต่างไป และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเมนูที่มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น เช่น เมนูเอสเพรสโซ่เย็นซึ่งให้รสชาติใกล้เคียงกับกาแฟโบราณ ใส่น้้าแข็งที่คนไทยคุ้นเคย